
สโลแกนที่คุ้นหู “ชื่อนี้มีแต่ของอร่อย” แต่ทราบไหมครับว่า จุดเริ่มต้นของ SNP มาจากร้านไอศกรีมหนึ่งห้องแ ถวในซอยสุขุมวิท 23 ของพี่น้องตระกูล “ไรวา” ที่ร่วมลงขันกันคนละ 25,000 บาท โดยตั้งชื่อร้านตามอักษรตัว แรกของพี่น้องจนกลายมาเป็น S&P
S คือ สุทธิดา และ สมศรี
P คือ ภัทรา, พันทิพา และ พรพิไล
.
เปิดร้านวันแรกขายได้แค่ 400 บาท
ผ่านมา 45 ปี วันนี้มีถึง 500 สาขา ขายได้เกือบ 8,000 ล้านบาทต่อปี
แต่ทว่าอนาคตของ SNP เองก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหล าบเหมือนที่ผ่านมา เรามาดูกันครับว่าเรื่องราว เป็นอย่างไร
.
@ธุรกิจของ SNP มีอะไรบ้าง
.
SNP เป็นแบรนด์เก่าแก่ที่เน้นจั บกลุ่มครอบครัว Gen X และ Baby Boom โดยขายอาหารและเบเกอรี่ แบ่งธุรกิจได้ 3 ประเภทคือ
.
1. ร้านอาหารและเบเกอรี่ในประเ ทศ มี 9 แบรนด์ เกือบ 500 สาขา คิดเป็น 78% ของรายได้บริษัท ได้แก่ S&P Bakery, S&P Restaurant, MAISEN
.
2. ร้านอาหารในต่างประเทศ มี 5 แบรนด์ 25 สาขา ใน 6 ประเทศ ได้แก่ PATARA, Bangkok Jam, Siam Kitchen คิดเป็น 12% ของรายได้บริษัท
.
3. ธุรกิจขายส่งอาหารและเบเกอร ี่สำเร็จรูป คิดเป็น 10% ของรายได้บริษัท
@ผลประกอบการของ SNP เป็นอย่างไร
.
อยากให้ดูโครงสร้างงบการเงิ นแบบคร่าว ๆ กันก่อน
.
• ยอดขาย S&P 100 บาท เป็นต้นทุน 54 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบ ริหาร 39 บาท จ่ายดอกเบี้ยและภาษี 2 บาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 5 บาท
.
• ถ้าเทียบกับ AU ที่ขายขนมยอดขาย 100 บาท เป็นต้นทุน 34 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบ ริหาร 45 บาท จ่ายดอกเบี้ยและภาษี 3 บาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 18 บาท
.
• หรือเทียบกับ M สุกี้ ยอดขาย 100 บาท เป็นต้นทุน 32 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบ ริหาร 50 บาท จ่ายดอกเบี้ยและภาษี 3 บาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 15 บาท
.
>> เราเห็น 2 ประเด็น ที่น่าสนใจ คือ เรื่องแรกธุรกิจร้านอาหารมี ค่าใช้จ่ายการขายเยอะไม่ว่า จะเป็นค่าเช่า ค่าพนักงาน โปรโมชั่นต่าง ๆ และเรื่องที่สอง S&P มีต้นทุนสินค้าที่สูงกว่าแบ รนด์อื่น ๆ ทำให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่า ง ๆ แล้วเหลือกำไรแค่ไม่กี่บาท
.
========================== =
.
ทีนี้มาดูผลประกอบการย้อนหล ังกันบ้าง
.
ปี 2557 ยอดขาย 7,256 ล้านบาท กำไรสุทธิ 498 ล้านบาท
ปี 2558 ยอดขาย 7,552 ล้านบาท กำไรสุทธิ 606 ล้านบาท
ปี 2559 ยอดขาย 7,775 ล้านบาท กำไรสุทธิ 437 ล้านบาท
9 เดือนปี 2559 ยอดขาย 5,738 ล้านบาท กำไรสุทธิ 345 ล้านบาท
9 เดือนปี 2560 ยอดขาย 5,706 ล้านบาท กำไรสุทธิ 305 ล้านบาท
.
สิ่งที่เราเห็นคือยอดขายโตไ ม่มาก และเริ่มลดลงในปีนี้ กำไรก็ตกลงเช่นเดียวกัน จากคำอธิบายงบไตรมาสล่าสุดบ อกเราว่า อัตราการเติบโตยอดขายร้านเด ิม หรือ SSSG ลดลงหมดไม่ว่าจะเป็นร้านอาห าร (-3.2%) เบเกอรี่ (-7.2%) และร้านอาหารในต่างประเทศ (-21%) โดยเฉพาะสิงคโปร์ที่ไม่ดีเอ ามาก ๆ ซึ่งถ้าจะให้วิเคราะห์ถึงสา เหตุของการหดตัวลงของ SNP คงมาจากเรื่องเหล่านี้
.
1) ภาพลักษณ์ของแบรนด์จับคนรุ่ นใหม่ไม่ได้ บริษัทเองเคยทำวิจัยพบว่าลู กค้ามอง S&P เป็นแบรนด์ป้า บางคนถึงกับเรียกว่า “ซิ้มแอนด์แป๊ะ” และเพราะแค่ความอร่อยอาจไม่ พอ เด็กรุ่นใหม่ต้องการบรรยากา ศที่ทันสมัย ถ่ายรูป เช็คอิน และเมนูอาหารที่หลากหลายเปล ี่ยนใหม่ตลอดเวลา
.
2) S&P ไม่ได้เน้นการทำสื่อทางออนไ ลน์หรือแม้กระทั่งการส่งสิน ค้าผ่านทาง App ต่าง ๆ เท่าที่ควร ทำให้พลาดตลาดตรงนี้ไปเมื่อ เทียบกับร้านอื่น ๆ และสูญเสียยอดขายไปให้กับเจ ้าอื่น
.
3) ตลาดต่างประเทศ ที่ผ่านมาเหมือนเป็นตัวฉุดก ำไรมากกว่า แต่หวังว่ากลุ่มไมเนอร์ที่เ ข้ามาถือหุ้นถึง 35.7% จะมาช่วยปรับปรุงตรงจุดนี้ใ ห้ดีขึ้น
…
อย่างไรก็ตาม SNP โดยพื้นฐานแล้วเป็นหุ้นดีมั ่นคง หนี้น้อย (D/ E 0.57 เท่า) วงจรเงินสดติดลบถึง 20 วัน จ่ายปันผลปีละเกือบ 4% เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ การหาจุดเปลี่ยนในโมเดลธุรก ิจหรือ Re-branding ครั้งใหญ่ บวกกับต้องลดต้นทุนให้ได้ทั ดเทียมกับแบรนด์อื่น ๆ
….
แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากให้เ ปลี่ยนคือจุดยืนของผู้บริหา รที่บอกว่า
..
“พนักงานคือคนในครอบครัวและ เป็นหัวใจของธุรกิจ เราจะไม่ลดคนเด็ดขาด” ผมเชื่อเหลือเกินว่าถ้า SNP ทำได้ตามนี้ รับรอง ไปด้วยกัน ไปได้ไกล แน่นอน
.