บะหมี่ที่ถือกำเนิดบนถนนหลวงสาย 8 เมืองคางะ เขตอิชิกาวา ประเทศญี่ปุ่น
.
มองแนวตั้งเหมือน ตุ๊กตาล้มลุก
มองแนวนอนเหมือน Infinity
เป็นเลขมงคล ดูมั่นคง มีเสถียรภาพ


ตลาดราเมน 3,142 ล้านบาท ฮะจิบังมีส่วนแบ่ง 50% ถือว่าเก่งมากในตลาดที่มีการแข่งขันสูงขนาดนี้
.
ปี 2556 รายได้ 1,573 ล้านบาท กำไรสุทธิ 259 ล้านบาท (NPM 16.4%)
ปี 2557 รายได้ 1,658 ล้านบาท กำไรสุทธิ 267 ล้านบาท (NPM 16.1%)
ปี 2558 รายได้ 1,662 ล้านบาท กำไรสุทธิ 267 ล้านบาท (NPM 16%)
..
ปี 2559 รายได้ 1,689 ล้านบาท กำไรสุทธิ 263 ล้านบาท (NPM 15.6%)
ปี 2560 รายได้ 1,710 ล้านบาท กำไรสุทธิ 259 ล้านบาท (NPM 15.1%)
ปี 2561 รายได้ 1,854 ล้านบาท กำไรสุทธิ 259 ล้านบาท (NPM 13.9%)
..
ในแง่รายได้ถือว่าเก่งที่เติบโตได้แบบเรื่อย ๆ ทุกปี กับ 127 สาขา ที่เปิดอยู่ (นับจำนวนสาขาจาก website ฮะจิบัง) โดยที่ไม่ค่อยได้เปิดสาขาแบบถี่ ๆ หรือว่ามีเมนูอะไรใหม่ ๆ ออกมาเท่าไหร่ แปลว่า ยอดขายร้านเดิมยังพอจะโตได้อยู่ และสินค้าเดิมที่มีขาย คนก็ยังชอบกินกันเยอะ ขณะเดียวกันก็รักษากำไรสุทธิไว้ได้ที่ระดับ 260-270 ล้านบาท ได้อย่างต่อเนื่อง
..
อัตรากำไรสุทธิถือว่าไม่แย่ที่ระดับ 14-16% (MK Suki ก็มี NPM ประมาณนี้) แต่จะเห็นว่าค่อยๆ ลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าเรามาดู GPM และ SG&A 3 ปี ย้อนหลัง จะเห็นภาพแบบนี้
.
ปี 2559 GPM 73% และ SG&A 53.8%
ปี 2560 GPM 73.6% และ SG&A 55.1%
ปี 2561 GPM 73.8% และ SG&A 56.8%
..
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนขาย ซึ่งระดับเกิน 70% นี่คือเก่งกว่า M หรือ AU อีก แต่ปัญหาคือค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ซึ่งอาจจะมาจากค่าเช่าที่หรือค่าพนักงานหรือเปล่า เพราะคงไม่ใช่ค่าการตลาดหรือโปรโมชั่น เพราะดูแล้วไม่ค่อยมีเท่าไหร่
..
ประเด็นที่น่าสนใจที่อยากหยิบมาคุยกันคือ เรื่องของบัตรสมาชิกที่ผมเองก็เพิ่งทราบว่า เปิดขายเฉพาะตอนเดือนสิงหาคม (เดือน 8 ตามชื่อร้าน) ขายหมดแล้วหมดเลย ไม่มีการให้ทำสมาชิกระหว่างปี คือ กรณีแบบนี้ถ้าจะเวิร์ค คือ ต้องมั่นใจมากว่า แบรนด์ตัวเองแข็งแกร่ง และมีลูกค้าที่มีความ Loyalty สูงมาก เพราะถ้าไม่อย่างงั้น จะเป็นการเสียโอกาสทางการขายเป็นอย่างมาก ท่ามกลางตลาดที่มีการแข่งขันสูงมากแบบนี้ ลองนึกภาพว่าถ้าเป็น Starbucks จัดโปร 1 แถม 1 เราจะเห็นคนไปต่อแถวซื้อกันยาวเหยียด
.
วิธีการง่าย ๆ ถ้าฮะจิบังสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้ คือ การแบ่งลูกค้าเป็น Heavy, Medium, Light Users เพื่อดูว่ามีลูกค้าที่เข้าร้านและเป็น Top Spender มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นกลุ่มลูกค้าขาประจำเยอะ ๆ การที่ออกบัตรสมาชิกเพื่อให้เขาเป็น Loyal Users น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการจำกัดเฉพาะช่วงเวลาสมัครแค่ไม่กี่เดือน

หรือถ้ามองว่า แบรนด์ตัวเองแข็งแกร่งอยู่แล้ว ก็อาจลองเพิ่มทางเลือกในแง่ของเมนูให้หลากหลาย การส่ง Delivery ออนไลน์ต่าง ๆ แต่ต้องพยายามควบคุม SG&A ให้อยู่ เพื่อที่จะได้รักษาระดับ NPM ไม่ให้ไหลลงตลอดทางแบบนี้
.
การเติบโตของ ฮะจิบัง ทำได้หลายทาง อยู่ที่ว่าเข้าใจข้อมูลของลูกค้าแค่ไหนครับ
..