
หลายคนชอบซื้อหุ้นใหญ่ เพราะดูมั่นคง แข็งแรง จ่ายปันผลสม่ำเสมอ
แต่ก็มีอีกหลายคนชอบซื้อหุ้ นตัวเล็ก เพราะเด็ก ๆ โตเร็ว วิ่งปรู๊ดปร๊าดขึ้นแรงลงเร็ ว
ผมขอเปรียบเทียบกับ “นักฟุตบอล” จะได้เห็นภาพกันชัด ๆ แบบนี้
หุ้นใหญ่ เปรียบเหมือนักบอลตัวท็อป พูดชื่อไปใครก็รู้จัก ฝีไม้ลายมือเป็นที่ยอมรับ อย่างเช่น โรนัลโด้ เมสซี่ ใคร ๆ ก็อยากได้มาอยู่ในทีม แต่ค่าตัวก็แพงลิบลิ่วมากกว ่าร้อยล้านปอนด์ ค่าเหนื่อยก็หลายแสนปอนด์ต่ อสัปดาห์
.
หุ้นเล็ก เปรียบเหมือนนักบอลทั่ว ๆ ไป ที่ผู้คนอาจยังไม่รู้จักมาก ค่าตัวยังไม่แพงอาจจะหลักล้ านหรือสิบล้านปอนด์ ค่าเหนื่อยก็หลักหมื่นปอนด์ ต่อสัปดาห์ วันนี้อาจดูธรรมดาๆ แต่ถ้าฝึกฝนดี ๆ ก็สามารถพาทีมเป็นแชมป์ได้ และวันข้างหน้าก็คงมีหลายที มอยากได้ตัวและพร้อมอัพค่าต ัวให้อย่างแพง อย่างเช่น คูตินโญ่ ซัวเรซ ที่ลิเวอร์พูลซื้อตัวมาในรา คาไม่เท่าไหร่ แต่ขายออกไปในราคาที่มากขึ้ นหลายเท่าตัว
..
ส่วนตัวเราก็เปรียบเหมือน “ผู้จัดการทีม” ที่คอยมองหานักเตะเข้ามาเสร ิมทัพ เพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จ ในฤดูกาลถัดไป แต่ไม่ใช่ว่าจะเลือกใครมาก็ ได้ เพราะเราก็มีข้อจำกัดเรื่อง เงิน และเราก็ต้องวางแผนการทำทีม ว่าจะให้เป็นไปในรูปแบบไหน ควรจะเลือกนักเตะแบบไหนเพื่ อให้เข้ากับสมดุลของทีมได้ด ีที่สุดภายใต้งบที่มีอยู่
.
และสุดท้าย อันดับตอนจบฤดูกาล หรือถ้วยแชมป์ ก็จะเป็นคำตอบว่าสิ่งที่เรา ในฐานะผู้จัดการทีม เลือกนักเตะที่เหมาะสม และแสดงศักยภาพออกมาได้เต็ม ที่คุ้มค่าตัวหรือไม่
.
กลับมาที่เรื่องหุ้น ในฐานะผู้จัดการกองมรดกของเ ราเอง ก็ต้องมาทำความเข้าใจว่า “หุ้นใหญ่” กับ “หุ้นเล็ก” มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย ่างไร เพื่อที่ว่าเราจะได้เลือกลง ทุนถูกตัว
.
========================== =====
….
** หุ้นใหญ่ หน้าตาเป็นอย่างไร **
.
เวลาเราพูดว่า หุ้นใหญ่ เราไม่ได้หมายถึง หุ้นที่มีราคาสูงหลายร้อยบา ท แต่เรากำลังมองถึงมูลค่าของ กิจการ หรือว่า Market Cap ที่มีขนาดเป็นหมื่นเป็นแสนล ้านบาท อย่างเช่น PTT, SCC, CPALL, AOT เป็นต้น ลักษณะของหุ้นใหญ่มักจะเป็น แบบนี้
.
1) มีชื่อเสียง มั่นคง แข็งแรง ผ่านการยอมรับว่าดี ใคร ๆ ก็รู้จัก เป็นนักเตะในฝันที่ใคร ๆ ก็ต้องการ ทั้งกองทุน ต่างชาติ หรือรายย่อย
.
2) หาข้อมูลได้ง่าย มีบทวิเคราะห์ออกมาเยอะแยะ มีคนติดตามข่าวอยู่ทุกวัน เหมือนเราลองเสิร์ชชื่อ โรนัลโด้ หรือ เมสซี ก็จะเห็นข่าวเต็มไปหมด
.
3) จ่ายปันผลสม่ำเสมอ บางบริษัทจ่ายเป็น 100% ก็มี เพราะไม่ได้มีแผนการลงทุนอะ ไร แค่รักษาอัตรากำไรจากธุรกิจ เดิมให้อยู่ได้เรื่อย ๆ ก็พอ
.
4) ราคาหุ้นในภาวะปกติไม่ค่อย Under Value เพราะใคร ๆ ก็ประเมินมูลค่าที่เหมาะสมใ ห้อยู่ตลอด ถ้าราคาร่วงลงไปเมื่อใดโดยท ี่ผลประกอบการณ์ยังดีอยู่ ก็จะมีคนซื้อกลับขึ้นมาทุกค รั้งไป
.
5) ฐานกำไรใหญ่ การเติบโตเป็นสิบ ๆ เท่า ทำได้ยาก Market Cap ของ PTT เติบโตจาก 9 แสนล้านบาท มาเป็น 1.6 ล้านล้านบาท (+82%) ในเวลา 5 ปี CPALL เติบโตจาก 380,000 ล้านบาท มาเป็น 780,000 ล้านบาท (+105%) ในช่วงเวลาเดียวกัน หรือ SCC ก็เติบโตน้อยมากอยู่ราว ๆ 5-6 แสนล้านบาท
.
** หุ้นใหญ่ ลงทุนยังไงดี **
.
1) ลงทุนตอนวิกฤต คือ อาจจะเป็นตอนที่ตลาด panic ชั่วคราว หรือวิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตเฉพาะของหุ้นตัวนั ้น ๆ ที่เราวิเคราะห์ดูแล้วพบว่า ความสามารถในการแข่งขันหรือ ความแข็งแกร่งไม่ได้ลดน้อยล งไป สุดท้ายราคาจะกลับมาดีเหมือ นเดิมถ้าวิกฤตผ่านพ้นไป
.
2) ลงทุนแบบ DCA คือ เราประเมินแล้วว่า หุ้นตัวนี้ดี เป็นผู้นำในตลาดที่เติบโตไป ได้อีกหลายสิบปี ราคาก็เพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ทุกวัน ๆ แบบนี้ก็ซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เลยก็ได้ครับ ผมให้เคล็ดลับนิดนึงว่าวันท ี่เหมาะสมในการ DCA คือ วันที่เงินเดือนออกเพราะเรา มีตังค์ในวันนั้นแน่ ๆ และจะได้ยังไม่ทันคิดว่าจะซ ื้ออย่างอื่น คือเอาไปซื้อหุ้นดีก่อนเลย หรืออีกวันที่เป็นวันดีคือซ ื้อให้ตรงกับวันเกิดเราก็ได ้ ถือซะว่าเป็นของขวัญวันเกิด ให้ตัวเองทุกเดือน
.
3) ลงทุนหวังปันผล แบบนี้ซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ คือ เราหาหุ้นดี จ่ายปันผลสม่ำเสมอ ในอัตราที่มากกว่าเงินฝากธน าคาร พันธบัตรรัฐบาล ซื้อด้วยเงินเย็นเก็บไว้ ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เอาเงินปันผลที่ได้มาใช้จ่า ยในชีวิตประจำวันไป
.
========================== ==
.
** หุ้นเล็ก หน้าตาเป็นอย่างไร **
.
มาถึง หุ้นขนาดเล็ก ก็ไม่ใช่หุ้นที่มีราคาบนกระ ดานหลักสตางค์หลักบาท แต่เรากำลังพูดถึงหุ้นที่มี Market Cap หลักไม่กี่พันล้านบาท อย่างเช่น ASIAN, EKH, RJH เป็นต้น ลักษณะของหุ้นเล็กมักจะเป็น แบบนี้
1) ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก บางตัวบอกชื่อยังต้องถามว่า หุ้นตัวนี้ทำอะไร พวกกองทุนใหญ่ ๆ หรือต่างชาติมักไม่ค่อยสนใจ เพราะว่าขนาดเล็กเกินไป ซื้อทีก็วิ่งไปซิลลิ่งหลายว ันแน่ ๆ
2) หาข้อมูลไม่ค่อยง่าย บางตัวแทบไม่มีบทวิเคราะห์อ อกมาเลย เหมือนนักเตะโนเนมไม่ค่อยเป ็นที่รู้จักมากนัก
.
3) จ่ายปันผลน้อย บางตัวไม่จ่ายเลยก็มีเพราะจ ะเก็บเงินไปลงทุนต่อยอดเพื่ ออนาคต
.
4) ราคาหุ้น Under Value ได้มาก ถ้ายังไม่มีใครมองเห็นศักยภ าพ เหมือนเพชรในตม ที่อาจกำลังรอการเจียระไนอย ู่ ตอนนี้เพิ่งถูกขุดขึ้นมา รอแค่เวลาให้เปล่งประกาย
.
5) ฐานกำไรเล็ก การเติบโตเป็นสิบหรือร้อยเท ่าเป็นไปได้ เช่น Market Cap ของ COM7 เติบโตจาก 6 พันล้านบาท มาเป็น 23,000 ล้านบาท หรือเกือบ 4 เท่า ในเวลา 5 ปี SPA เติบโตจาก 2,300 ล้านบาท มาเป็น 10,000 ล้านบาท หรือเกือบ 5 เท่า ในช่วงเวลาเดียวกัน
.
** หุ้นเล็ก ลงทุนยังไงดี **
.
1) ลงทุนตอนกำลังจะโต คือ หุ้นแบบนี้ต้องใช้เวลาเติบโ ต เหมือนบ้านที่กำลังสร้างอยู ่ เราเห็นแบบแปลนแล้วว่าสร้าง เสร็จจะสวยงามเพียงใด เราก็ค่อยเข้าไปซื้อตอนใกล้ ๆ เสร็จ เช่น โครงบ้านเสร็จแล้ว เหลือตกแต่ง ทำระบบน้ำไฟ แต่ไม่ใข่ว่าเราไปซื้อตอนเห ลือแค่ทาสีรั้ว เพราะนั่นอาจจะช้าเกินไปและ ก็อาจจะมีคนซื้อตัดหน้าเราไ ปก่อนก็ได้
.
2) ลงทุนแบบ Lump Sum คือ ใช้เงินทั้งก้อนซื้อไปเลย ไม่ต้องมามัว DCA เป็นสิบปี เพราะหุ้นแบบนี้ คือ เราต้องใช้ความพยายามขุดหาจ นเจอ พอเจอแล้วว่าเป็นเพชรแท้แน่ ๆ ก็ให้ซื้อเลย แล้วก็รอเวลาเติบโต ถ้าอยากซื้อเพิ่มก็ขอให้มั่ นใจว่าเวลาผ่านมาหลายๆ ไตรมาสแล้ว ยังเป็นหุ้นที่เติบโตอยู่ เหมือนนักบอลที่เล่นดี เราก็ปรับเพิ่มค่าเหนื่อยให ้ได้เวลาต่อสัญญาฉบับใหม่
.
3) ลงทุนหวัง Capital Gain โดยส่วนมากหุ้นเล็ก ถ้าเติบโตจริง ราคาหุ้นจะวิ่งแรง เราก็จะได้กำไรจากส่วนต่างข องราคามากกว่า และในช่วงแรก ๆ หลายบริษัทเองก็อาจจจะไม่ได ้จ่ายปันผลในอัตราที่สูง เพราะยังต้องการใช้เงินเพื่ อลงทุนสร้างอนาคตอยู่
..
สุดท้าย สิ่งที่อยากจะฝากบอกทุกคนก็ คือ ก่อนที่เราจะเลือกลงทุนไม่ว ่าจะเป็นหุ้นใหญ่หรือหุ้นเล ็กก็ตาม เราในฐานะผู้จัดการทีมต้องเ ข้าใจระบบ แผนการเล่น ความคาดหวัง งบประมาณ ให้ชัดเจนก่อน แล้วค่อยไปเลือกตัวผู้เล่นท ี่เหมาะที่สุดมาอยู่ในทีม ถ้าเราชัดเจนในหลักการและเข ้าใจตัวเอง สุดท้ายไม่ว่าผู้เล่นแบบไหน ก็พาเราไปถึงแชมป์ได้อย่างแ น่นอน