
ปี 2016 ยอดขาย 6,541 ล้านบาท กำไรสุทธิ 530 ล้านบาท
ปี 2017 ยอดขาย 5,916 ล้านบาท กำไรสุทธิ 286 ล้านบาท
ปี 2018 ยอดขาย 5,349 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 273 ล้านบาท
..
Q1’18 กำไรสุทธิ 9 ล้านบาท
Q2’18 ขาดทุนสุทธิ 15 ล้านบาท
Q3’18 ขาดทุนสุทธิ 124 ล้านบาท
Q4’18 ขาดทุนสุทธิ 143 ล้านบาท
ปี 2016 MALEE ขายดีมากเพราะน้ำมะพร้าวพารวย ทั้งแบรนด์ตัวเองและรับจ้างผลิตให้กับแบรนด์ในและต่างประเทศ แม้แต่แบรนด์ใหญ่อย่าง ZICO ของบริษัท Coca-Cola ก็ยังจ้างให้มาลีผลิตให้
..
ราคาหุ้นมาลีช่วงนั้นก็วิ่งทะลุฟ้าเกิน 60 บาท (คิดราคาที่แตกพาร์แล้ว) แต่อีก 2 ปี ถัดมา MALEE เริ่มเข้าสู่ขาลง กระแสน้ำมะพร้าวเริ่มนิ่งไป และตลาดน้ำผลไม้ในประเทศหดตัวต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายตกลง จนขาดทุนติดกันมา 3 ไตรมาส และแน่นอนราคาก็ร่วงหล่นเหลือไม่ถึง 8 บาท ณ วันนี้
..
ยอดขายของบริษัทแบ่งได้ 4 ประเภท
.
1) Brand ตัวเอง ขายในประเทศ
.
MALEE ลดลง 7% ถ้าเราดูตลาดน้ำผลไม้ปีที่แล้วติดลบ 11% ปีก่อนหน้าติดลบ 7% โดยเฉพาะกลุ่มน้ำผลไม้พรีเมี่ยมที่มาลีอยู่นี่ติดลบหนักมาก -17% คืออาการหนักมาก คุณแจง รุ่งฉัตร CEO บอกว่าสาเหตุก็เพราะกำลังซื้อหด ผู้บริโภคดื่มน้ำผลไม้แค่ต้องการความสดชื่น เลยหันไปดื่มน้ำอย่างอื่นที่ถูกกว่าแทน
..
แต่ถ้าเราลองดูส่วนแบ่งการตลาด UHT TIPCO เป็นผู้นำแถมมีแชร์เพิ่มขึ้นจาก 28% มาเป็น 31% โดยแย่งมาจากดอยคำและ UNIF ขณะที่ MALEE 20% ไม่เปลี่ยนแปลง หรือถ้ามาดูตลาด Pasteurized TIPCO กินขาดมีแชร์ 47% MALEE 23% คือ กำลังจะบอกว่า ถึงตลาดจะดูไม่ดียังไง TIPCO ก็เก่งกว่า MALEE
.
2) CMG (Contract Manufacturing รับจ้างผลิต) ขายในประเทศ
.
ยอดขายลดลง 15% พอตลาดน้ำผลไม้โดยรวมไม่ดี ไม่ใช่แค่ตัวเองไม่ดี คนอื่นก็ไม่ดีด้วย เลยจ้างผลิตน้อยลง แถมที่ผ่านมามีเรื่องภาษีสรรพสามิตและภาษีน้ำตาล เลยพาให้แย่ไปใหญ่ แต่ Q4 เริ่มกระเตื้องขึ้นบ้างหลังจากได้ลูกค้ารายใหม่เข้ามา ต้องดูว่าจะต่อเนื่องมั้ย
.
3) Brand ตัวเอง ขายต่างประเทศ
.
+126% อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะไปซื้อกิจการ LQSF ของเวียดนามมา ถ้าตัดตรงนี้ออกไปจะโตแค่ 1% แต่ก็ต้องถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะ 3 ไตรมาแรกติดลบมาตลอด
.
ถ้าเราไปดูเฉพาะงบของ LQSF ถือว่าน่าสนใจ รายได้ถึงแม้จะยังน้อยแค่ 369 ล้านบาท แต่ GPM สูง 35.4% (ของ MALEE รวมแค่ 22.1%) แต่เพราะมีค่าใช้จ่ายการขายที่สูงอยู่ ทำให้ขาดทุนไป 9 แสนบาท (คิดที่สัดส่วน 65% ตามที่มาลีถือ) ถ้ายาว ๆ กลับมามีกำไรได้ก็น่าสนใจ
.
4) CMG ขายต่างประเทศ
.
ลดลง 45% อันนี้เหนื่อยใจมาก เพราะลูกค้าเจ้านึงหมดสัญญาการจำหน่ายให้ร้านค้าปลีกของเขา และก็มีกรณีแบบปีก่อนผลิตน้ำมะพร้าวให้ Starbucks ทำโปรโมชั่น แต่ปี 2018 ไม่มี ยอดขายเลยหาย คืออย่างที่บอกธุรกิจ CMG พึ่งพาคนอื่นมากเกินไป ถ้ามีอะไรมากระทบก็จะแย่เลย แต่ถ้าดู QoQ ก็โตมา 11%
..
เปรียบเทียบรายได้แบรนด์ 54% CMG 46% (แต่ปีที่แล้วตัวเลขสลับกัน Brand 46% CMG 54%) ไม่ได้จะเน้น Brand มากขึ้น เพียงแต่ว่ารับจ้างผลิตมันตกเยอะกว่า สัดส่วนเลยกลับด้านกัน
..
หรือมองอีกด้าน ยอดขายในประเทศ 68% ต่างประเทศ 32% (ปีที่แล้ว 64% : 36%)
.
ในแง่ของค่าใช้จ่ายมี one time expense อยู่ 3 รายการ 73 ล้านบาท คือ
.
32 ล้านบาท ค่าเผื่อลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ คือปรับเกณฑ์ใหม่ ตัดแบบเป็นระยะเวลาแทน
.
20 ล้านบาท ค่าภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน ตามกฎหมายใหม่ที่ออกมาบอกว่าพนักงานอายุงาน 20 ปี ขึ้นไปให้เพิ่มค่าชดเชยจาก 300 วัน เป็น 400 วัน
.
22 ล้านบาท ค่าที่ปรึกษาตอนซื้อ LQSF
..
===========================
.
** อนาคตของ MALEE จะเดินไปทางไหน **
.
1) เน้น Super Premium และ Mass แทน
.
คือ ของเดิมขายไม่ออก เลยไปเน้นกลุ่มแพงไปเลยทำน้ำผลไม้แบบฆ่าเชื้อโดยใช้ความดัน Cold Pressure Processing แต่ไม่ผ่านความร้อน แล้วขายราคาสูงขวดนึงเกินร้อยบาท จับลูกค้ากลุ่มบนที่ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน แต่ยอดขายก็ไม่เยอะนะ หลักสิบล้านบาท
.
อีกกลยุทธ์คือ จับกลุ่มล่างไปเลย เท่าที่เห็นก็มีออกน้ำมะนาว Fizza Salty Lemon น้ำนมข้าวโพด i-Corn เห็นมีกาแฟ มีนมอัดเม็ด คือ ออกมาค่อนข้างเยอะเลย
.
>> ตลาดในประเทศดูอาการหนัก ยังไม่ค่อยเห็นภาพที่ชัดเจนเท่าไหร่ว่ายอดขายจะโตแบบเยอะ ๆ ได้ยังไง สินค้าใหม่อาจจะทำให้คนทดลองชิมกัน แต่ก็ต้องเพิ่มงบการตลาดเยอะอยู่โดยเฉพาะลงมาแข่งในตลาด mass
.
ส่วนตลาด super premium อันนี้ดีแน่แต่มันเล็กไง ก็อาจไม่ช่วยมาก ผมมองว่าผู้บริหารยังตีโจทย์ตรงนี้ไม่แตก
..
2) ขยายฐานต่างประเทศ
.
ยอดขายต่างประเทศ 41% เวียดนาม 25% กัมพูชา ดูจะเน้นที่ LQSF เป็นหลักว่าจะเริ่มกลับมาทำกำไรได้ และเห็นว่าธุรกิจที่ฟิลิปปินส์เริ่มกลับมากำไร และก็หาลูกค้าใหม่เพิ่มเติมในต่างประเทศ
.
>> LQSF อาจจะดูพอไปรอด แต่ CGM นี่เอาแน่นอนอะไรไม่ได้เลย คือ เหมือนกับว่าบริษัทไม่สามารถกำหนดได้ว่าออเดอร์จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าหาลูกค้าใหม่ได้แค่ไหน หรือรายเดิมขยายตลาดได้เพิ่มมั้ย
..
3) จับมือพันธมิตร
.
จับมือ MEGA ออกสินค้าไปแล้ว AK-TIV, D-GEST ขายออนไลน์อยู่
.
จับมือกับ KINO ของอินโดนีเซีย ออกสินค้า beauty care, hair care
.
>> ผมมองว่าต้องลงทุนเยอะมากถ้าจะสร้างแบรนด์ใหม่ให้เป็นที่รู้จัก และเกิดยอดขาย รวมทั้งตลาดที่จะเข้ามาแข่งก็ไม่ง่าย มีแบรนด์ระดับโลกอยู่ทั้งนั้น
..
4) ลดค่าใช้จ่าย
.
คุณแจงให้ภาพแบบกว้าง ๆ ว่าจะเน้นลดค่าใช้จ่าย เช่น ทำงานเป็นเชน มองตั้งแต่ต้นจนจบวงจรการผลิต หรือการใช้อุปกรณ์สำนักงานอะไรต่าง ๆ ก็รณรงค์ให้ประหยัดกัน อะไรแบบนี้ ก็อาจจะจะช่วยได้ รวมทั้งปี 2018 มี one tine expense เยอะ ถ้าปีนี้ไม่มีก็จะเป็นประโยชน์เพิ่มเติม
…
MALEE ตั้งเป้ายอดขายแค่โต 5-10% ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยมั่นใจตัวเองเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะที่ผ่านมาพูดหลายรอบว่า bottom แล้ว แต่ก็ยังขาดทุนมาได้อีกเรื่อย ๆ ปีนี้ไม่มีการลงทุนเพิ่ม เพราะ Capacity ยังใช้อยู่แค่ 35-40% ยอดขาย QoQ ดูดีขึ้นก็จริง แต่กลยุทธ์ดูไม่ค่อยชัดเจนว่าจะโตแบบเยอะ ๆ ยังไง
..
อีกเรื่องที่ผมสังเกต (อาจจะผิดนะครับ) ผู้บริหารยังดูมั่นใจกับแบรนด์ตัวเองอยู่พอสมควร สังเกตจากเวลาตอบคำถามที่บอกว่ามาลีเป็นผู้นำตลาด แผนเป็น confidential ไม่อยากเปิดเผยกลัวคู่แข่งรู้ (แต่จริง ๆ เป็นเบอร์ 2 ตาม Tipco อยู่นะ) เลยตอบแบบกว้าง ๆ บางทีก็มีพูดไปหัวเราะเล็ก ๆ ไปบ้าง คือผมไม่แน่ใจว่า ไม่อยากให้นักลงทุนกังวลเกินไป หรืออาจคิดว่าบริษัทยังไม่ได้เข้าขั้นวิกฤตขนาดนั้น