
ถือกำเนิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ในนามบริษัทเกียงซิง โดยคุณปู่เอ็กเซี้ยง และคุณพ่อกวง แซ่แต้ จนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 3 บริหารงานโดย ดร.อัญชลิน และดร.นภัสนันท์ เป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย คือเป็นคนกลางให้บริษัทประกันกับลูกค้า ได้ค่าคอมมิชชั่นและค่าบริการ ข้อดีคือ ไม่ต้องรับความเสี่ยงถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น
บริษัทมีพันธมิตรอยู่มากกว่า 40 บริษัท พนักงาน 4,000 คน (ครึ่งหนึ่งเป็นพนักงานขาย) สาขามากกว่า 90 แห่ง ทุกจังหวัด มีลูกค้ามากกว่า 1 ล้าน
.
ถ้าแบ่งรายได้ตาม Segment
.
94% ของรายได้มาจากประกันวินาศภัย >> หลัก ๆ คือประกันรถยนต์
4% ของรายได้คือประกันชีวิต
.
ถ้าแบ่งรายได้ตามประเภท
.
60% รายได้คอมมิชชั่น
40% รายได้ค่าบริการ
.
====================
.
** ผลประกอบการย้อนหลัง **
.
ปี 2016 รายได้ 2,226 ล้านบาท กำไรสุทธิ 178 ล้านบาท
ปี 2017 รายได้ 2,282 ล้านบาท กำไรสุทธิ 268 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 2,525 ล้านบาท กำไรสุทธิ 404 ล้านบาท
..
Q1’2018 รายได้ 614 ล้านบาท กำไรสุทธิ 88 ล้านบาท
Q1’2019 รายได้ 672 ล้านบาท กำไรสุทธิ 107 ล้านบาท
.
รายได้โต แต่จะสังเกตได้ว่ากำไรโตเยอะมากภายใน 2 ปี โตเป็นเท่าตัว สาเหตุก็เพราะสามารถบริหารจัดการ Admin Cost ให้ลดลงได้จากเทคโนโลยีที่ลงทุนไป ลดงานซ้ำซ้อน ประสิทธิภาพเรื่องคน เรื่องเวลาดีขึ้นเยอะ
.
ดร.อัญชลิน มองว่าโอกาสโตได้อีกเยอะ เช่น ญี่ปุ่น คนซื้อประกันชีวิต 300% แปลว่า 1 คน ซื้อประกันชีวิต 3 ฉบับ แต่คนไทยแค่ 30% หรือ สิงคโปร์ ไต้หวันซื้อประกันวินาศภัยปีนึง 3,000 USD คนไทยซื้อ 300 USD (หมื่นกว่าบาท)
..
=====================
.
** มุมมอง ดร. ทั้ง 2 ท่าน **
..
เริ่มที่ภาพใหญ่เบี้ยประกันภัย 800,000 ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันชีวิต 600,000 ล้านบาท เบี้ยประกันภัย 200,000 ล้านบาท เติบโตปีละประมาณ 10% ตัว TQM มีสัดส่วนของเบี้ยประกันรถยนต์เยอะสุด (ส่วนมากรถยนต์ใหม่มักแถมประกันมาตอนซื้อรถ พอปีที่สองเริ่มซื้อเอง TQM ก็จะได้ประโยชน์ตามมา)
.
และเนื่องจาก TQM มี sale force ที่ใหญ่ สาขามากกว่าจังหวัดของประเทศ การที่รายได้เพิ่ม จะทำให้กำไรเพิ่มมากกว่า เพราะต้นทุน fix ไปเยอะแล้ว ทำให้อัตรากำไรเพิ่มขึ้นเร็วแบบนี้
.
ปี 2016 GPM 45.7% EBIT 10.2% NPM 8%
ปี 2017 GPM 48.1% EBIT 14.5% NPM 11.8%
ปี 2018 GPM 48.5% EBIT 19.8% NPM 16%
Q1’2019 GPM 45.9% EBIT 19.5% NPM 15.9%
..
แต่ดร. ก็มองว่าประกันภัยรถยนต์โตไม่มาก ประกันภัยชีวิตโตดีกว่า แต่ก็จะมีคู่แข่งอย่างสถาบันการเงินเข้ามาเล่น หรือต้องระวังพวก Technology ใหม่ ๆ ที่อาจเข้ามาฆ่าโบรกเกอร์ได้ในอนาคต
..
ในแง่ของการประเมินราคา ต้องไปดูว่า bottom line หรืออัตรากำไรยังโตได้อีกมั้ย จะไปหยุดที่ตรงไหน เพราะรายได้โตแค่ประมาณ 10% ถ้าอัตรากำไรเริ่มถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้ก็ต้องหาทางเพิ่มรายได้ ต้องหาทางเพิ่ม product ใหม่ หรือรักษาโมเมนตัมให้ได้ ถ้าทำได้ด้วย ROE 30% กว่า ๆ ก็น่าสนใจ
.
สรุป หุ้น TQM เป็นหุ้นแข็งแกร่ง ที่กำไรเติบโตมากกว่ารายได้ เพราะมีต้นทุนที่คงที่และมีการใช้ประสิทธิภาพได้ดี แต่ต้องเพิ่มการเติบโตด้านรายได้ให้มากขึ้นก่อนที่อัตากำไรจะเพิ่มไม่ได้มากกว่านี้ และระวังเทคโนโลยีที่อาจเข้ามา disrupt
.
ดูคลิปรายการได้ที่นี่เลยครับ