
กำไร Q4 กลับมาเพิ่ม +16.8% (หลังจากลงมา 2 ไตรมาส) แต่กำไรทั้งปียังติดลบอยู่ 3.4%
ที่เห็นชัดเลยคือ รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม รายได้ค่าธรรมเนียมลดลงแต่ดีขึ้นมาก และตั้งสำรอง NPL ลดลงมาก
แต่ต้องไม่ลืมว่าเพิ่งจะมีการเพิ่มทุนจากแบงค์ไต้หวัน CTBC จำนวนหุ้นเพิ่มมา 55% เพราะฉะนั้น EPS จำเป็นต้องเพิ่มให้ได้มาก ๆ ถึงจะชดเชยกันได้
** ประเด็นสำคัญของ LHBANK **
.
1) รายได้ 6,493 ล้านบาท (-6.8%) >> สัดส่วน 77% มาจากดอกเบี้ย 23% มาจากค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทั้งหลักทรัพย์และกองทุน
.
.. รายได้ดอกเบี้ย Q4 +4.3% และทั้งปี +2.9% >> สินเชื่อรวมขยาย 9.1% โดยเฉพาะสินเชื่อ Corporate ที่เป็นสัดส่วนหลักของบริษั ท (65%) โตเพิ่มขึ้นถึง 17.6% ซึ่งถ้าเราดูลึกลงไปจะพบว่า อุตสาหกรรมการผลิตและพาณิชย ์โตได้ถึง +20.7% อาจจะเป็นแนวโน้มที่ดีของภา คการผลิตจริงเริ่มฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตามสินเชื่อราย ย่อยและ SME ยังไม่มีทีท่าว่าจะฟื้น
.
.. รายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงมา ตลอดทางตั้งแต่ Q3’59 และเราเริ่มเห็นสัญญาณที่ดี ใน Q4’60 เพราะติดลบแค่ 2.2% แต่ทั้งปีก็ยังติดลบ 28.8% (แต่ต้องโน้ตไว้อย่างนึงคือ ปี 2559 ฐานสูงจากกำไรขายเงินลงทุน 270 ล้านบาท) >> เราเริ่มเห็นว่าค่านายหน้าห ลักทรัพย์และค่าธรรมเนียมกอ งทุนส่วนมากเป็นตราสารหนี้ด ีขึ้น
.
2) NPL 130 ล้านบาท (-41%) และทั้งปี 617 ล้านบาท (-39.8%) ลดลงเยอะ เพราะกันสำรองไว้เพียงพอแล้ ว บวกกับลูกหนี้หลักคือภาคธุร กิจขนาดใหญ่ที่ไม่ค่อยเบี้ย วหนี้อยู่แล้ว
.
3) SG&A คิดเป็น 40% ของรายได้ ครึ่งหนึ่งคือค่าพนักงาน ต้องบอกว่า LHBANK บริหารตรงนี่ไม่ดี เพราะเพิ่มตลอด ทั้งปีเพิ่ม 4.6% ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ขยายสาขาเลยตั้งแต ่ปี 2559 แถมพนักงานยังลดลง 101 คน (จำนวนสาขา 133 แห่ง อยู่ในกรุงเทพ 47 แห่ง และต่างจังหวัด 86 แห่ง)
.
4) ถึงแม้ว่ากำไรจะโต 17% แต่ EPS แค่ 0.03 ไม่เปลี่ยนแปลง หรือทั้งปีแค่ 0.12 vs. ปีทีแล้ว 0.13 ก็เพราะจำนวนหุ้นที่เพิ่มมา เยอะจาก CTBC นั่นเอง
.
** สรุปคือ สินเชื่อโต และรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยเริ ่มติดลบน้อยลง ดูเป็นสัญญาณที่ดีแต่ปี 2561 ต้องทำให้โตกว่านี้มาก ๆ ถึงจะชดเชยการ dilute ของจำนวนหุ้นที่เพิ่มเข้ามา และอย่างที่เคยบอกตัวนี้น่า ติดตามเพราะว่าแปลกที่ CTBC ยอมจ่ายเงิน 2.20 บาทเพิ่มทุน PP ในขณะที่ราคาตลาดอยู่แค่ 1.73 บาท เท่านั้น
.
Credit รูปงบ Krungsri Securities
.