รีวิวหนังสือ How Happiness Works … ความสุขทำงานยังไง

หลังจากอ่านหนังสือ “พฤติกรรมความสุข” ของ ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี ที่ผมเขียนไปเมื่อวานจบ ชอบมากจนต้องออกไปตามหาหนัง สืออีกเล่มที่ออกมาก่อนหน้า ที่มีชื่อว่า “ความสุขทำงานยังไง” มาอ่าน หายากมากเพราะหนังสือออกมาเ กือบ 2 ปี แล้วโชคดี ไปได้มาเล่มสุดท้ายที่ Kinokuniya

อ่านรวดเดียวจบ ต้องบอกว่าดีจริง ๆ ครับ ดีตั้งแต่ “คำนำ” เลยทีเดียว คือ เล่มนี้เป็นการรวบรวมข้อเขียนเรื่องพฤต ิกรรมและความสุขของมนุษย์ขอ ง ดร.ณัฐวุฒิ จาก website ThaiPublica ผมขอหยิบยกบางตอนที่ผมชอบมา เล่าให้ฟังกันครับ
.
========================
.
“ผู้ชายคนหนึ่งขับรถพาลูกชา ยไปดูบอลด้วยกันที่สนาม เเต่ระหว่างทางเกิดอุบัติเห ตุรถชนกับต้นไม้ข้างทาง พ่อเสียชีวิตทันที ส่วนลูกชายได้รับบาดเจ็บสาห ัสเเละถูกส่งตัวไปยังโรงพยา บาลใกล้เคียง ขณะที่ลูกชายกำลังนอนอยู่บน เตียงเพื่อรอการผ่าตัดอยู่น ั้น หัวหน้าหมอผ่าตัดก็ได้เดินเ ข้ามาและพอเห็นเด็กคนนั้นก็ ถึงกับทรุดลงไปนั่งอยู่กับพ ื้น นั่นก็เป็นเพราะว่าเด็กผู้ช ายที่กำลังนอนอยู่บนเตียงนั ้นไม่ใช่ใครอื่น เเต่เป็นลูกเเท้ ๆ ของหมอผ่าตัดนั่นเอง

คำถามก็คือว่า หัวหน้าหมอผ่าตัดคนนี้เป็นอ ะไรกับเด็กผู้ชายที่นอนอยู่ บนเตียง”
.
ตอบคำถามกันไว้ในคอมเมนต์นะ ครับ อยากรู้ว่าคิดกันยังไง เดี๋ยวตอนเย็นมาเฉลย
.
=========================
.
** Mental Accounting – สมุดบัญชีในหัว **
.
กรณีที่ 1 สมมติว่า เราซื้อตั๋วหนังมา 200 บาท ระหว่างรอหนังฉาย ก็ไปเดินเล่นในห้าง พอกลับมาปรากฏว่าทำตั๋วหาย และไม่มีหลักฐาน จำที่นั่งก็ไม่ได้ เคลมไม่ได้
.
คำถามคือ คุณจะยอมควักเงินอีก 200 บาท เพื่อซื้อตั๋วหนังใบใหม่มั้ ย

กรณีที่ 2 สมมติว่า เรากำลังจะไปซื้อตั๋วหนัง แต่พอถึงโรงหนัง กลับพบว่าเราทำเงินหายไป 200 บาท (เท่ากับราคาตั๋วพอดี)
.
คำถามคือ คุณจะยอมควักเงินอีก 200 บาท เพื่อซื้อตั๋วหนังมั้ย

ผลงานวิจัยของ Richard Thaler แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก พบว่า ในกรณีที่ 1 มี 46% ยอมจ่ายเพิ่ม 200 บาท และกรณีที่ 2 มีมากถึง 88% ที่จะจ่ายเพื่อซื้อตั๋วหนัง
.
เหตุผลก็เพราะว่า คนเรามี “สมุดบัญชีรายรับรายจ่าย” อยู่ในหัว กรณีแรก เราลงบัญชีรายจ่ายไว้แล้วว่ าเป็นค่าตั๋วหนัง 200 บาท เท่านั้น พอมันหายไป เราก็ไม่ค่อยอยากจะจ่ายเพิ่ ม แต่กรณีหลัง เรายังไม่ได้จัดบัญชีไว้ในห ัวว่าจะเอาไปทำอะไร เราเลยย้ายเงินจากบัญชีอื่น มาเพื่อซื้อตั๋วหนังแทนได้ ทั้ง ๆ ที่มูลค่าคือ 200 บาท เท่ากัน
..
** Peak-End Effect **
.
การที่เราจดจำประสบการณ์ในอ ดีตได้ดี ขึ้นอยู่กับ “จุดสูงสุด” ของความรู้สึกในประสบการณ์น ั้นว่าอยู่ตรงไหน และจบลงด้วยความรู้สึกอย่าง ไร ยกตัวอย่างเช่น ไปทริปกับครอบครัว 4 วันแรกไม่สนุกเลย แต่พอมาวันสุดท้ายดันพีคสนุ กมาก เวลามองย้อนกลับไป คุณก็จะมีโอกาสบอกว่า “ทริปนี้สนุกมาก” และอาจกลับไปอีกรอบ
.
ดูหนังก็เหมือนกันนะ บางทีหนังยาวมากแทบหลับแต่ต อนจบสนุกมาก หรือ ดูบอล โดนนำไปก่อนหนึ่งลูก สุดท้ายโกงตายพลิกกลับมาแซง ชนะ ยังงี้ก็พีค เราก็จะมีความประทับใจกับหน ังและบอลคู่นี้
.
หรือ ใครติดดอย PTT ที่ 400 บาท เมื่อ 2 ปีก่อน คงเครียดและเศร้า แต่พอเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน  ราคาน้ำมันกลับสูงขึ้นมา PTT ก็วิ่งไปเกือบ 600 บาท (ก่อนแตกพาร์) คุณก็คงรู้สีกมีความสุขกับเ หตุการณ์ในวันนี้ แต่ถ้าคนที่มาขายตอน 200 บาท อันนี้ก็พีคอีกแบบนึง
.
======================
.
** ความเชื่อผิด ๆ ตายยาก **
.
“นายณัฐวุฒิ ชอบเสพข่าวธุรกิจเป็นชีวิตจ ิตใจ ทุกเช้าก่อนไปทำงานต้องเปิด ข่าวธุรกิจฟังเวลากินข้าว อีกทั้งยังชอบอ่านหนังสือพิ มพ์ธุรกิจเป็นประจำอีกด้วย”
..
คำถามคือ คุณคิดว่า นายณัฐวุฒิ น่าจะประกอบอาชีพอะไร ระหว่าง คนขับแท็กซี่ กับ CEO บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ?
.
..

คนส่วนใหญ่มักจะตอบว่าน่าจะ เป็น CEO แต่ถ้าพูดตามหลักการของความ น่าจะเป็นแล้ว โอกาสที่จะเป็นคนขับแท็กซี่ มีโอกาสสูงกว่า เพราะมีจำนวนมากกว่า CEO หลายพันเท่า แต่ที่คนส่วนใหญ่ตอบว่า CEO ก็เพราะใช้ประสบการณ์ส่วนตั วหรือคิดแบบที่คนส่วนมากคิด และเอามาตัดสินใจว่า คนลักษณะแบบนี้ต้องเป็น CEO แน่ ๆ แต่ความเป็นจริงคือ เราแค่ไม่เคยเจอคนขับแท็กซี ่สนใจข่าวธุรกิจก็เป็นได้
.
ในตลาดหุ้นก็เหมือนกัน บางทีเราเห็นข่าวหรือบทวิเค ราะห์บอกว่าหุ้นตัวนั้นตัวน ี้จะดี เพราะราคาน้ำมันขึ้นได้ประโ ยชน์ เราก็เลยปักใจเชื่อ แต่สุดท้ายงบออกมาขาดทุน เพราะดันไปทำ forward ราคาน้ำมันล่วงหน้าแล้ว แบบนี้เราก็เจ๊งได้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะใช้ห ลักเหตุและผล แยกข้อเท็จจริง ความเชื่อ และสมมติฐานออกมา นั่งวิเคราะห์ให้ดีก่อนตัดส ินใจลงทุน จะได้ไม่โดน Bias หรือ ความเชื่อที่ผิด ๆ หลอกเรา

ที่ผมเล่ามาเป็นแค่ตัวอย่าง เล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ ในหนังสือมีทั้งหมด 32 ตอน บวกกับมี QR Code เข้าไปดูตอนพิเศษอีกหลายตอน ใน website มีเรื่องที่น่าสนใจมากอย่าง Introvert vs. Extrovert, Superman Theory, Sunk Cost Fallacy คือ เยอะมากครับ อยากให้ไปหาซื้อมาอ่านกัน
.
จริง ๆ แล้ว ผมก็เรียนจบเศรษฐศาสตร์มาเห มือนกัน เสียดายสมัยนั้นไม่มีสาขาวิ ชาเศรษฐศาสตร์ความสุข แต่ไม่เป็นไรครับ เพราะตอนนี้ผมได้เรียนรู้วิ ชานี้มาจากหนังสือ 2 เล่มนี้แล้ว ขอขอบคุณ ดร. Nattavudh Powdthaveeสำหรับความรู้ครับ และต่อไปเราจะเป็น “วิตามินหุ้นเพื่อความสุขขอ งนักลงทุน” แทนก็แล้วกัน
..
ป.ล. อย่าลืมคอมเมนต์กันมานะ กับคำถามตอนต้นที่ว่า หัวหน้าหมอผ่าตัดคนนี้เป็นอ ะไรกับเด็กผู้ชายที่นอนอยู่บนเตียง